อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย

08.17
อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย - Hallo sahabat IFKNews, Pada Artikel yang anda baca kali ini dengan judul อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย, kami telah mempersiapkan artikel ini dengan baik untuk anda baca dan ambil informasi didalamnya. mudah-mudahan isi postingan Artikel Tinggal Diem, yang kami tulis ini dapat anda pahami. baiklah, selamat membaca.

Judul : อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย
link : อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย

Baca juga


อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย

tinggalaja.blogspot.com

ทั้งอินเดียและจีนต่างยืนยันว่าไม่มีการยิงกันในเหตุปะทะที่หุบเขากาลวาน (Galwan valley) ในภูมิภาคลาดักห์ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. แต่อินเดียบอกว่ามีทหารฝ่ายตนเสียชีวิตอย่างน้อย 20 นาย ส่วนทางการจีนยังไม่ออกมายืนยัน

มีรายงานว่ากองทัพทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่สันเขาสูงเกือบ 14,000 ฟุต หรือราว 4,000 เมตร โดยทหารบางนายตกลงไปในแม่น้ำกาลวานความยาว 80 กม. ที่กำลังไหลเชี่ยว และมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อินเดีย ทหารทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันด้วยมือเปล่า แท่งเหล็ก และหิน

ช่วงเย็นวันอังคาร กองทัพอินเดียยืนยันว่าทหาร 17 นายที่เสียชีวิต เนื่องจาก ได้รับบาดเจ็บสาหัสและต้องเผชิญกับอากาศอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในภูมิประเทศที่อยู่ระดับสูง เชื่อกันว่าทหารบางนายมีอาการสาหัสจนไม่สามารถมีชีวิตรอดจากอากาศหนาวเหน็บข้ามคืนได้

ลาดักห์ตั้งอยู่ 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ท่ามกลางยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะและหุบเขาอันแห้งแล้ง โดยถือเป็นที่ราบสูงที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย โดยในฤดูหนาวอุ ณหภูมิติดลบถึง 20 องศาเซลเซียส

สาเหตุหลักที่คนเสียชีวิตจากการอยู่ในที่สูงเช่นนี้ ได้แก่

- ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง (high altitude pulmonary oedema) เกิดเมื่อเดินทางอย่างรวดเร็วขึ้นที่สูงมากกว่า 2,500 เมตร หรือ

- ภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง (high altitude cerebral oedema)

สาเหตุความขัดแย้ง

หลายทศวรรษมาแล้วที่ชาติมหาอำนาจทางทหารทั้งสองยื้อแย่งดินแดนบนที่สูงซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีคนอาศัยอยู่ และบ่อยครั้งที่มีการเผชิญหน้ากันตลอดแนวพรมแดนร่วมยาว 3,440 กม.

สถานการณ์ตึงเครียดล่าสุดเริ่มจากอินเดียที่ได้สร้างถนนสายใหม่ตามแนวเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control-LAC)

ถนนสายนี้ ซึ่งสร้างในปี 2019 ยาวหลายร้อยกิโลเมตร และเชื่อมต่อกับฐานทัพอากาศดอรัต เบก โอลดี(Daulat Beg Oldi) ซึ่งอินเดียกลับมาใช้ทำการอีกครั้ง และว่ากันว่าเป็นลานบินที่อยู่สูงที่สุดในโลก

นี่ทำให้จีนไม่พอใจ และก็สงสัยเคลือบแคลงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอินเดีย ซึ่งอาจช่วยให้ทางการอินเดีย เคลื่อนพลและยุทโธปกรณ์ได้รวดเร็วหากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น

เมื่อเดือน พ.ค. มีรายงานว่ากองทัพจีนได้ไปตั้งแคมป์ ขุดคู และเคลื่อนย้ายอุปกรณ์หนัก ล้ำเข้าไปหลายกิโลเมตรในพื้นที่ที่ ถือว่าเป็นเขตแดนของอินเดีย

ก่อนหน้านี้ สองประเทศซึ่งมีกองทัพที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอันดับต้น ๆ ของโลกปะทะกันมาหลายหน อินเดียกล่าวหาว่าจีนเข้ามาครอบครองพื้นที่ 38,000 ตร.กม. ในดินแดนของตน และการเจรจาเรื่องนี้หลายรอบล้วนประสบความล้มเหลว

เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง แบ่งเขตแดนสองประเทศอย่างไม่ชัดเจนนัก เพราะแนวแม่น้ำ ทะเลสาบ ยอดหิมะบนภูเขา เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

นี่เป็นการปะทะกันรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตครั้งแรก หลังจีนและอินเดียทำสงครามกันเพียงครั้งเดียวในปี 1962 และอินเดียพ่ายแพ้ไปอย่างน่าอับอาย

ผู้เชี่ยวชาญว่าอย่างไร

"สถานการณ์ดูย่ำแย่ แย่มาก ๆ เลย" วิพิน นารัง ศาสตราจารย์ด้านความมั่นคงที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ สหรัฐฯ (เอ็มไอที) กล่าว

"เมื่อมีผู้เสียชีวิตแล้วมันก็ยากที่จะทั้งสองฝ่ายจะทำให้เรื่องเงียบ แรงกดดันจากสาธารณะกลายมาเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง"

อาจัย ชูกลา นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมชั้นนำชาวอินเดีย อ้างว่า จีนได้เข้าไปครอบครองพื้นที่ 60 ตร.กม.ที่อินเดียควบคุมอยู่

แม้ว่ารายละเอียดจะยังไม่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อคืนวันจันทร์ แต่อังกิต ปานเดย์ บรรณาธิการอาวุโสประจำนิตยสารเดอะดิโพลแมต (The Diplomat) บอกว่าเหตุการณ์ครั้งนี้รุนแรงที่สุดตั้งแต่ข้อพิพาทที่ที่ราบสูงดอกลัม (Doklam) รัฐสิกขิม เมื่อปี 2017 ระหว่างจีน อินเดียและภูฏาน หลังจีนไปสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ที่ภูฏาน ซึ่งเป็นพันธมิตรของอินเดีย แล้วอ้างว่าเป็นของตัวเอง

อุปกรณ์ของท่านไม่สามารถใช้งานเครื่องเล่นสื่อได้

ชิฟชานการ์ เมนอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน และอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลอินเดีย บอกว่า สถานการณ์น่ากังวลมากเพราะพฤติกรรมของจีนต่างไปจากที่เคยเป็นมา เช่นการเข้าไปรุกล้ำพื้นที่ที่ไม่เคยเข้าไปมาก่อนตลอดแนวเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง

มีทฤษฎีมากมายที่ยกกันมาเพื่อพยายามอธิบายท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปของจีน อาจเป็นเพราะไม่พอใจที่อินเดียสร้างถนน อาจเป็นเพราะจีนเห็นโอกาสเมื่อวิกฤตโควิด-19 ทำให้กองทัพอินเดียต้องเลื่อนการฝึกรบที่ลาดักห์ออกไปเมื่อเดือน มี.ค. หรือเป็นเรื่องที่รัฐบาลอินเดียเพิกถอนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มอบสถานะพิเศษให้แก่ดินแดนแคชเมียร์ในส่วนที่อินเดียปกครองเมื่อเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว

เมนอน ซึ่งเป็นอดีตเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศจีนด้วย เชื่อว่าจีนพยายามจะหันไปพึ่งความคิดแบบชาตินิยม เนื่องจากความตึงเครียดด้านเศรษฐกิจและปัญหาในประเทศ เมนอนบอกว่าเราสามารถเห็นท่าทีของจีนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการฝึกซ้อมรบในทะเลเหลือง ท่าทีต่อไต้หวัน การผ่านกฎหมายความมั่นคงโดยไม่ปรึกษาฮ่องกง สงครามภาษีนำเข้ากับออสเตรเลีย และก็เรื่องข้อพิพาทพรมแดนกับอินเดีย

Let's block ads! (Why?)



"มีชีวิต" - Google News
June 18, 2020 at 07:25AM
https://ift.tt/2YKsWQT

อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย
"มีชีวิต" - Google News
https://ift.tt/36bh0LC
Home To Blog


loading...

Demikianlah Artikel อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย

Sekianlah artikel อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย kali ini, mudah-mudahan bisa memberi manfaat untuk anda semua. baiklah, sampai jumpa di postingan artikel lainnya.

Anda sekarang membaca artikel อินเดีย-จีน : เกิดอะไรขึ้นในการปะทะนองเลือดที่ไร้ปืนและระเบิดระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ - บีบีซีไทย dengan alamat link https://ifknews.blogspot.com/2020/06/2_18.html

Artikel Terkait

Next Article
« Prev Post
Previous Article
Next Post »

Tidak ada komentar:

Posting Komentar