Judul : จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์
link : จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์
จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์
tinggalaja.blogspot.comจะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์
วันที่ 17 ส.ค. 2563 เวลา 07:10 น.
การรับมือกับปัญหาเชิงองค์รวม : เมื่อองค์กรไม่ยั่งยืน เพราะผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์
โดย ดร.แป๊ะ-ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล สถาบันอินทรานส์ Hipot – การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน
การรับมือกับปัญหาเชิงองค์รวม : เพราะองค์กรมีชีวิต ชีวิตต้องการคุณค่าและความหมาย ใครก็ตามเห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน ผู้นำที่เข้าใจในคุณค่าของความเป็นมนุษย์จึงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง นำองค์กรให้สอดคล้องไปในแนวเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ มีความเข้มแข็ง มั่นคงยั่งยืน
ความท้าทายของผู้นำองค์กร
โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่เคยหยุดนิ่ง เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างก้าวกระโดด สังคมทุกระดับเกิดการสั่นคลอน ระบบเก่าถูกทำลาย การบริหารงานมีความเสี่ยง มีทิศทางสู่วิกฤติ องค์กรจึงต้องการการเปลี่ยนแปลง บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงมีสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนขององค์กร และเมื่อพิจารณาถึงความท้าทายของผู้นำองค์กร ประเด็นหลักคือ ผู้นำโดยตำแหน่งขาดภาวะผู้นำ ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ไปในแนวเดียวกันได้ เพราะอะไร
- ผู้นำไม่สามารถสร้างศักยภาพทีมงานและขับออกมาได้อย่างมีพลังร่วม ยังยึดติดกับกรอบความคิดเดิมๆ มีทัศนคติติดลบ ไม่เล่นเชิงรุก ไม่เปลี่ยน ไม่ปรับตัว บุคลากรจึงขาดการพัฒนาตนเอง ขาดความกระตือรือร้น ไม่สามารถนำตนเองได้
- ผู้นำไม่สามารถเหนี่ยวนำให้ทีมงานสร้างภาพเป้าหมายร่วม ขาดค่านิยมร่วม จึงไม่สามารถนำองค์กรให้ไปในแนวเดียวกันได้
- ผู้นำขาดความเข้าใจในมุมมองเชิงระบบ ขาดการมองภาพเชิงองค์รวม จึงขาดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนได้ อีกทั้งไม่สามารถคิดสรางสรรค์นวัตกรรมที่แตกต่างที่แปลกใหม่ ไม่อาจสร้างองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้
- ผู้นำไม่สามารถกระตุ้นให้ทีมงานเห็นคุณค่าตนเอง ทีมงานจึงขาดแรงบันดาลใจ ขาดความเชื่อมั่น ขาดความเข้มแข็ง ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ จึงขาดภูมิต้านทาน อ่อนไหวต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบ ไม่รู้ว่าจะตอบสนองอย่างไรเมื่อมีปัญหาผ่านเข้ามา
- ผู้นำไม่สามารถสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในความแตกต่าง ทีมงานใจจึงไม่เปิดกว้างรับฟัง จึงมักเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง ทีมงานจึงขาดศรัทธา ไม่เข้าใจกัน ไม่ไว้วางใจกัน การทำงานจึงแยกส่วน ขาดการมีส่วนร่วม ไม่เป็นทีม ไม่เป็นหนึ่งเดียว
- ผู้นำมีการบริหารงานขาดความสมดุล เน้นแต่เรื่องทักษะการบริหารจัดการ แต่ละเลยทักษะชีวิต คิดว่าปัญหาทุกอย่างแก้ได้ด้วยความสามารถด้านเทคนิคและการบริหารจัดการที่เป็นเลิศอย่างสุดโต่ง
ทั้งหมดนี้เพราะมีพื้นฐานมาจากผู้นำขาดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ ไม่เห็นคุณค่าชีวิต จึงไม่สามารถสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนองค์กรให้ไปในแนวเดียวกันได้อย่างยั่งยืน
แล้วอะไรคือรากของปัญหา
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ในขณะที่เรามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันนั้น ในขณะนั้น โลกภายในก็กำลังก้องสะท้อนระหว่างกันอยู่ โลกภายในนี้คือตัวตน ตัวตนต้องการคุณค่าและความหมาย ดังนั้น ในขณะที่เรากำลังติดต่อสื่อสารด้วยกิริยาท่าทางอยู่นั้น โลกภายในของทั้งสองก็กำลังก้องสะท้อนระหว่างกันอยู่ในลักษณะที่ว่า “ใครก็ตามที่เห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน” แต่หากใครก็ตามที่ไม่เห็นฉันมีค่า ไม่ว่าเธอจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ไม่ว่าเธอจะตะโกนดังแค่ไหน ฉันก็ไม่ได้ยิน เรื่องใดๆ ก็ยากไปหมด ดังนั้น รากของปัญหาของภาวะผู้นำนั้นก็คือ การที่ผู้นำโดยตำแหน่งไม่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต และนี่คือเงื่อนไขสำคัญของทุกความสัมพันธ์ และส่งผลเป็นการขาดภาวะผู้นำ บุคลากรและทีมงานจึงไม่อาจขับศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ องค์กรไม่ถึงเป้าหมาย ส่วนรวมก็เสียหาย ไม่สามารถนำไปสู่ความยั่งยืนได้
ทางออกของปัญหา
ในการหาทางออกของปัญหา เราต้องมาทำความเข้าใจว่าภาวะผู้นำคืออะไร ภาวะนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ภาวะผู้นำมิใช่ตำแหน่งผู้นำ ภาวะผู้นำไม่เกี่ยวกับอายุ หรืออายุงาน หรือการศึกษา หรือฐานะ ตำแหน่งผู้นำมันเป็นเรื่องสมมติ มันแต่งตั้งกันได้ แต่ภาวะผู้นำมันตั้งกันขึ้นมาเองไม่ได้ เรียกร้องก็ไม่ได้ มันต้องสร้างขึ้นเอง เพราะภาวะผู้นำเป็นเรื่องของสถานะของการยอมรับที่ฝ่ายหนึ่งให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การที่ตนจะยอมรับอีกฝ่ายว่ามีภาวะผู้นำนั้น ก็ต่อเมื่อตนต้องได้รับการยอมรับจากผู้นั้นเสียก่อน การยอมรับที่ว่านี้มิใช่การยอมรับในเรื่องความสามารถด้านเทคนิคหรือการบริหารจัดการ แต่มันคือ การยอมรับในคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์คือชีวิตที่ต้องการคุณค่าและความหมาย เมื่อตนได้รับการยอมรับ ตนจึงแสดงการยอมรับตอบ การยอมรับนี้เองที่สะท้อนถึงภาวะผู้นำ และเมื่อผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า ดังนั้น เมื่อเขาพูดอะไร เราจะฟังและทำตาม “เพราะใครก็ตามที่เห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน”
อาการปัญหาต่างๆ ในรูปของความสัมพันธ์ล้วนเป็นเรื่องปลายเหตุ เบื้องลึกของเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงจึงเป็นคุณค่าและความหมายชีวิตที่ซ่อนอยู่ภายในของบุคคล หากคุณค่านี้ได้รับการตอบสนองแล้ว อะไรๆ ก็ง่ายไปหมด คุณสมบัตินี้สำคัญอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงภาวะผู้นำ เพราะภาวะผู้นำนี้มิได้วัดกันด้วยตำแหน่ง แต่วัดกันที่พฤติกรรมการแสดงออกว่าสะท้อนถึงความมีคุณค่าของบุคคลที่เราสัมพันธ์ด้วยมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ผู้นำนอกจากจะเป็นผู้นำโดยตำแหน่งแล้ว ยังต้องแสดงออกถึงคุณค่าและความหมายของผู้ตามด้วย เพราะองค์กรคือชีวิต ดังนั้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำองค์กรสู่ความยั่งยืนได้จึงต้องตั้งอยู่บนฐานของการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์
มีคำกล่าวว่า “เราต้องให้ความรัก ก่อนให้ความรู้” ท่านเข้าใจว่าอย่างไร และท่านจะนำความเข้าใจดังกล่าวมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานและขับออกมาอย่างเต็มที่ เล่นเชิงรุก มีความคิดเชิงระบบนำไปแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนได้ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งการเล่นเป็นทีมอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำองค์กรให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเป็นหนึ่งเดียว อย่างมีความสุขได้อย่างไร และที่สำคัญ เรื่องนี้เป็นจริงทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เพราะต่างก็มีชีวิต
"มีชีวิต" - Google News
August 17, 2020 at 07:23AM
https://ift.tt/2PUqPGm
จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์
"มีชีวิต" - Google News
https://ift.tt/36bh0LC
Home To Blog
Demikianlah Artikel จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์
Anda sekarang membaca artikel จะทำอย่างไร...เมื่อผู้นำไม่เข้าใจว่าองค์กรมีชีวิต ไม่เห็นคนเป็นมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์ dengan alamat link https://ifknews.blogspot.com/2020/08/blog-post_31.html
Tidak ada komentar:
Posting Komentar